มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชอุตสาหกรรมที่สำคัญพืชหนึ่งของประเทศไทย
และกำลังได้รับความสนใจทั้ง ภาครัฐบาลและเอกชนที่จะพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อเป็นสินค้าส่งออก
จากการวิจัยพบว่า มะม่วงหิมพานต์ สามารถเจริญได้ดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่น
ๆ ของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นพืชที่ทนแล้ง ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว
ดูแลง่าย ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่ระบายน้ำดี หน้าดินลึกไม่เป็นดินดาน
ไม่เป็นดินด่างจัด หรือกรดจัด การปลูกมะม่วงหิมพานต์นอกจากเป็นการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรแล้วยังเป็นการเพิ่มการปลูกป่า
ทำให้สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ผลพื้นเมืองของอเมริกาใต้
มีปลูกกันทั่วไปตั้งแต่เม็กซิโกจนถึงเปรู ต่อมาได้ ขยายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวางในทวีปอาฟริกา
อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ตามหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทร แปซิฟิค
ตลอดจนถึงทวีปเอเซีย ประเทศที่นับได้ว่าเป็นผู้ส่งออกผลิตผลจากมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของโลก
ได้แก่ อินเดีย โมแซมบิค แทนซาเนีย บราซิล เป็นต้น
ประวัติการนำเข้ามาในประเทศไทยนั้น
สันนิษฐานว่า พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี ณ ระนอง) ได้นำเข้า
มาจากอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2444 พร้อม ๆ กับยางพารา และหลังจากนั้นได้มีผู้นำเข้ามาอีกหลายครั้งจากอินเดีย
ไลบีเรีย เป็นต้น โดยกรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรมเดิม) เป็นผู้ทดลองศึกษาค้นคว้าคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม
เพื่อให้สามารถปลูกให้ได้ผลผลิตสูงในประเทศไทยn ปัจจุบันมะม่วงหิมพานต์ได้ปลูกกระจายไปทั่วประเทศ
แต่ปลูกมากทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |