
มหัศจรรย์ผักพื้นบ้าน กินอาหารเป็นยา
มหัศจรรย์ผักพื้นบ้าน กินอาหารเป็นยา
มะม่วงหิมพานต์
ชื่อวิทยาศาสตร์ "Anacardirm occidentale Linn."
วงศ์ "ANACARDIACEAE"
ชื่อสามัญ Cashew Nut Tree
ชื่อพื้นเมือง ยกร่อง(ใต้) กะแตแก(มาลายู,นราธิวาส) กายี(ตรัง) ตำหยาว ท้ายล่อ กาหยี ม่วงล่อ หัวครก กะแตแหล กาจู กาหยู ส้มม่วงชูหน่าย(ใต้) นายอ(มาลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ(อุตรดิตถ์) มะม่วงกุลา มะม่วงสังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงหยอด(ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มม่วงทุนหน่วย(สุราฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย (ระนอง) มะม่วงไม่รู้หาว
มะม่วงสิโห ม่วงหิมพานต์ (เงิ้ยวแม่ฮ่องสอน) ยาโหย ยามักม่วงหิมพานต์ (อุดรธานี-อีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
มะม่วงหิมพานต์เป็นต้นไม้ตระกูลเดียวกับมะม่วง จำแนกตามสีของผลมี 2 พันธุ์คือ ผลสุกสีเหลืองจัด และผลสุกสีแดงคล้ำ มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง 6-12 เมตร มีกิ่งก้านเป็นพุ่มแผ่โดยรอบ เนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน มียางสีเหลืองและเหนียวใสเปลือกต้นสีน้ำตาลใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม หนา ออกใบแบบสลับใบรูปร่างรูปไข่กลับ ปลายใบมนป้านและฐานใบแหลม กว้าง 6-11 ซม. ยาว 7.5-19 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีกลิ่นอ่อนๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ยาวครึ่งนิ้ว ดอกมีเกสรตัวเมีย และเกสรตัวผู้ในดอกเดียวกัน เมื่อดอกบานจะกลายเป็นสีชมพู ส่วนของฐานรองดอกจะเจริญค่อยๆ กลายเป็นผลโดยจะขยายใหญ่พองโตคล้ายกับผลชมพู่ เรียกกันว่า ผลปลอม เมื่อสุกกลายเป็นสีเหลือง หรือสีแดงคล้ำ มีรสเปรี้ยวอมหวานนิ่มและมีกลิ่นหอมผลปลอมชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าเต้า(cashewapple)ส่วนปลายสุดของผลปลอมเป็นส่วนของดอก ที่ได้รับการผสมเกสรแล้วเจริญเป็นผลจริงชนบ้านเรียกว่าเมล็ดหรือลูกใน หรือหัวใน(nut)รูปร่างคล้ายไตระยะแรกสีม่วงแล้วกลายเป็นสีเขียวอ่อนนุ่มเมื่อโตเต็มที่ลดขนาดลงเล็กน้อยแก่จัดจะแข็ง เปลี่ยนเป็นสีเทาส่วนนี้เป็นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เป็นสินค้าออกสำคัญของภาคใต้
การปลูก
มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชปลูกง่ายปลูกในที่กลางแจ้ง ทนต่อแสงแดดได้ดี ขึ้นได้ในดินทุกชนิด การขยายพันธุ์ทำได้ 2 วิธี คือการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ประโยชน์ทางยา
ราก สรรพคุณแก้โรคท้องร่วงและเป็นยาฝาดสมาน
ใบ สรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้บรรเทาอาการท้องร่วง ใบแก่ใช้บดใส่แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก และใบสดนำมาเผาไฟ สูดดมควันเพื่อรักษาอาการ ไอ เจ็บคอ
เมล็ด สรรพคุณแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ทำให้เนื้อชา ยาง ช่วยกัดทำลายเนื้อที่เป็นตุ่ม ไต ตาปลา โรคเท้าแตก และแก้เลือดออกตามไรฟัน
สารสกัดจากส่วนในของเปลือกต้น (การวิจัยในประเทศบราซิล) สารสกัดจากส่วนเหนือดินของต้นมะม่วงหิมพานต์(การวิจัยในประเทศอินเดีย) พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ยอดอ่อนใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผลและเมล็ดนำมาปรุงอาหารได้ ยอดและใบอ่อนในช่วงฤดูฝน การปรุงอาหาร ชาวใต้รับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนสดเป็น"ผักเหนาะ" ร่วมกับน้ำพริก แกงเผ็ดขนมจีนน้ำยาเช่นเดียวกับชาวอิสานที่นำยอดอ่อนและใบอ่อนสดรับประทานกับลาบก้อยป่นปลาและน้ำพริกส่วนเมล็ดนิยมทำให้สุกก่อนโดยการเผาไฟหรือคั่ว นำไปผัดหรือยำร่วมกับอาหารอื่น หรือรับประทานเป็นของว่าง
ยอด ใบ มีรสฝาด สรรพคุณ สมานลำไส้ บรรเทาอาการท้องร่วง
ข้อควรระวัง ยางจากผลมีพิษ ควรใช้อย่างระมัดระวัง
มะม่วงหิมพานต์
ชื่อวิทยาศาสตร์ "Anacardirm occidentale Linn."
วงศ์ "ANACARDIACEAE"
ชื่อสามัญ Cashew Nut Tree
ชื่อพื้นเมือง ยกร่อง(ใต้) กะแตแก(มาลายู,นราธิวาส) กายี(ตรัง) ตำหยาว ท้ายล่อ กาหยี ม่วงล่อ หัวครก กะแตแหล กาจู กาหยู ส้มม่วงชูหน่าย(ใต้) นายอ(มาลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ(อุตรดิตถ์) มะม่วงกุลา มะม่วงสังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงหยอด(ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มม่วงทุนหน่วย(สุราฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย (ระนอง) มะม่วงไม่รู้หาว
มะม่วงสิโห ม่วงหิมพานต์ (เงิ้ยวแม่ฮ่องสอน) ยาโหย ยามักม่วงหิมพานต์ (อุดรธานี-อีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
มะม่วงหิมพานต์เป็นต้นไม้ตระกูลเดียวกับมะม่วง จำแนกตามสีของผลมี 2 พันธุ์คือ ผลสุกสีเหลืองจัด และผลสุกสีแดงคล้ำ มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง 6-12 เมตร มีกิ่งก้านเป็นพุ่มแผ่โดยรอบ เนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน มียางสีเหลืองและเหนียวใสเปลือกต้นสีน้ำตาลใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม หนา ออกใบแบบสลับใบรูปร่างรูปไข่กลับ ปลายใบมนป้านและฐานใบแหลม กว้าง 6-11 ซม. ยาว 7.5-19 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีกลิ่นอ่อนๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ยาวครึ่งนิ้ว ดอกมีเกสรตัวเมีย และเกสรตัวผู้ในดอกเดียวกัน เมื่อดอกบานจะกลายเป็นสีชมพู ส่วนของฐานรองดอกจะเจริญค่อยๆ กลายเป็นผลโดยจะขยายใหญ่พองโตคล้ายกับผลชมพู่ เรียกกันว่า ผลปลอม เมื่อสุกกลายเป็นสีเหลือง หรือสีแดงคล้ำ มีรสเปรี้ยวอมหวานนิ่มและมีกลิ่นหอมผลปลอมชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าเต้า(cashewapple)ส่วนปลายสุดของผลปลอมเป็นส่วนของดอก ที่ได้รับการผสมเกสรแล้วเจริญเป็นผลจริงชนบ้านเรียกว่าเมล็ดหรือลูกใน หรือหัวใน(nut)รูปร่างคล้ายไตระยะแรกสีม่วงแล้วกลายเป็นสีเขียวอ่อนนุ่มเมื่อโตเต็มที่ลดขนาดลงเล็กน้อยแก่จัดจะแข็ง เปลี่ยนเป็นสีเทาส่วนนี้เป็นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เป็นสินค้าออกสำคัญของภาคใต้
การปลูก
มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชปลูกง่ายปลูกในที่กลางแจ้ง ทนต่อแสงแดดได้ดี ขึ้นได้ในดินทุกชนิด การขยายพันธุ์ทำได้ 2 วิธี คือการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ประโยชน์ทางยา
ราก สรรพคุณแก้โรคท้องร่วงและเป็นยาฝาดสมาน
ใบ สรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้บรรเทาอาการท้องร่วง ใบแก่ใช้บดใส่แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก และใบสดนำมาเผาไฟ สูดดมควันเพื่อรักษาอาการ ไอ เจ็บคอ
เมล็ด สรรพคุณแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ทำให้เนื้อชา ยาง ช่วยกัดทำลายเนื้อที่เป็นตุ่ม ไต ตาปลา โรคเท้าแตก และแก้เลือดออกตามไรฟัน
สารสกัดจากส่วนในของเปลือกต้น (การวิจัยในประเทศบราซิล) สารสกัดจากส่วนเหนือดินของต้นมะม่วงหิมพานต์(การวิจัยในประเทศอินเดีย) พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ยอดอ่อนใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผลและเมล็ดนำมาปรุงอาหารได้ ยอดและใบอ่อนในช่วงฤดูฝน การปรุงอาหาร ชาวใต้รับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนสดเป็น"ผักเหนาะ" ร่วมกับน้ำพริก แกงเผ็ดขนมจีนน้ำยาเช่นเดียวกับชาวอิสานที่นำยอดอ่อนและใบอ่อนสดรับประทานกับลาบก้อยป่นปลาและน้ำพริกส่วนเมล็ดนิยมทำให้สุกก่อนโดยการเผาไฟหรือคั่ว นำไปผัดหรือยำร่วมกับอาหารอื่น หรือรับประทานเป็นของว่าง
ยอด ใบ มีรสฝาด สรรพคุณ สมานลำไส้ บรรเทาอาการท้องร่วง
ข้อควรระวัง ยางจากผลมีพิษ ควรใช้อย่างระมัดระวัง